






|
 |
จุลกฐิน
ถือกันมาแต่โบราณว่า
ใครทอดจุลกฐินนี้
มีอานิสงส์มาก คือ
ต้องเก็บฝ้ายมาปั่นเป็นด้าย
แล้วทอให้เสร็จ
เป็นผืนผ้าในวันเดียว
ซึ่งต้องใช้คนมากพิธีรีตองมาก
พวกปั่นก็ปั่น
พวกทอก็ทอ
ทำจนเสร็จเป็นผ้ากฐิน
แล้วนำไปทอดในวันเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า
"จุลกฐิน" คือ
เป็นผ้าที่สำเร็จขึ้นด้วนสิ่งเล็ก
ๆ เช่น เก็บฝ้ายมาปั่น
คือ กรอสาง
ทำเป็นเส้นด้ายแล้วทอเป็นผ้า
ตัด เย็บ ย้อม ในวันเดียว
วิธีทอดจุลกฐินนี้
มีปรากฏในหนังสือ
คำให้การชาวกรุงเก่าว่า
"บางทีเป็นของหลวง
ทำในวันกลางเดือน 12
แล้วนำผ้าจุลกฐินไปทอด"
สาเหตุอาจจะมาจาก
การทอดในวันสุดท้าย
จึงต้องรีบขวนขวายทำให้ทัน
และในสมัยนั้นคงหา
ผ้าสำเร็จได้ยาก
ถ้าเป็นสมัยนี้
ก็พอจะหาซื้อไปทอดได
้ไม่ต้องทอใหม่
แต่ผู้มีศรัทธา
ก็ยังคงทำจุลกฐินอยู่
การทอดกฐิน
มีอนิสงส์ทั้งผู้ทอดและผู้รับ
เพราะต้องทำ
ในช่วงเวลาที่กำหนด
หากพลาดก็เป็นอันหมดโอกาส
อานิสงส์ของผู้ทอด
มิได้กล่าวไว้ในวินัยโดยตรง
แต่สำหรับผู้รับนั้น
มีหลักฐานแน่นอนอยู่ 5
ประการคือ |
 |
 |
1.
เข้าบ้านโดยไม่ต้องบอกลาพระภิกษุด้วยกัน
2. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
3. ฉันอาหารล้อมวงได้
4. เก็บจีวรที่ไม่ต้องใช้ไว้ได้
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น |
|
 |
|